วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไมโครโฟน(Microphone)



รู้ไหมครับว่าไมโครโฟนที่เราเห็นอยู่บ่อยๆนั้นมันทำงานยังไงแล้วเจ้าไมโครโฟนเนียมันมีแบบเดียวหรือเปล่าแน่นอนว่าไมโครโฟนที่เราเห็นทั่วๆไปนั้นไม่ได้ที่เพียงแค่ชนิดเดียวแน่นอน
ฉะนั้นเราจะมาดูคราวๆว่าไมโครโฟนมีชนิดอะไรบ้าง

1.แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ
1.1 แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
1.2 แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
1.3 แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยมใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
1.4 แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
1.5 แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
1.6 แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง

คราวนี้เราก้อรู้จักชนิดเจ้าไมโครโฟมมากขึ้นแล้วน่ะครับส่วนรูปภาพปรพกอบเดียวจะพยายามหามาให้ได้น่ะครับ แต่เจ้าไมโครโฟนมันยังไม่หมดแค่นี้ซิมันยังมีแบบอื่นๆอีกเอาไว้คราวหน้าหามาเพิ่มอีกแน่ครับ
อ้างอิงจาก http://gotoknow.org/blog/saner001/95593
สวัสดีค่า วันนี้แอบมาดูบล็อก บล็อกโหลงเหลงมากก... มีแค่ 2 หน้าเอง 555++ ไม่เป็นไรๆ เดี๋ยวจะขอเล่าเนื้อหาคร่าวๆที่จะเน้นในบล็อกนี้ก่อนละกันนะคะ ^^ เนื้อหาในบล็อกจะมีหัวข้อที่สำคัญๆ ประมาณ 3 หัวข้อค่ะ ซึ่งก็คือ

1.เซนเซอร์ตรวจจับเสียง
2.เซนเซอร์เพียโซ (Piezoelectric sensor) ในการทางแพทย์
3.การสั่น(Vibration) การตรวจจับ

จะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ เซนเซอร์ตรวจจับเสียงที่เรารู้จักกันดีนั่นก็คือ ไมโครโฟนนั่นเองค่ะ เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะรู้สึกว่าเรื่องที่พูดมาอยู่ใกล้ๆตัวเรานี้เองใช่ไหมล่ะค่ะ เดี๋ยวคราวหน้าจะมาลงลึกรายละเอียดอีกทีค่ะ ตอนนี้ขอตัวไปมหาวิทยาลัยก่อนนะคะ โชคดีค่า^^

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนะนำโปรแกรมเด็ด - LayoutFix

สวัสดีค่า นี่ก็เป็นครั้งแรกเลยนะคะที่ได้มาเขียนในเว็บบล็อกแห่งนี้ คาดว่าทุกๆคนก็คงจะเคยประสบปัญหาเวลาที่เราพิมพ์งาน หรือพิมพ์ข้อความ chat ต่างๆ แล้วพบว่า เราดันลืมเปลี่ยนภาษาเสียนี่!! ทำให้ต้องเสียเวลามานั่งพิมพ์ใหม่ ขาดความต่อเนื่อง (เฉพาะอย่างยิ่งเวลา คุย MSN นี่แหละค่ะ 555+) แถมยังเสียอารมณ์ด้วยค่ะ

วันนี้ ก็เลยอยากจะขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำโปรแกรม จิ๋วแต่แจ๋วค่ะ นั่นก็คือ โปรแกรม LayoutFix ของเรานั่นเอง!! ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมfreeware ขนาดเล็กเพียง 156 kB เท่านั้นเองค่ะ วิธีการใช้งานก็ง่ายแสนง่าย... เพียงแค่เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยนภาษาแล้วกดปุ่ม Ctrl + Backspace บน Keyboard เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วค่ะ



เห็นไหมละคะ ว่าวิธีการใช้งานมันช่างง่ายดายอะไรเช่นนี้ เอาล่ะค่ะ เรามาเริ่มต้นติดตั้งโปรแกรมกันเลยดีกว่า
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม LayoutFix เข้ามาเก็บไว้ในเครื่องก่อนค่า คลิกที่ลิงค์ด้านหน้าได้เลยนะคะ
2. แตกไฟล์ออกมานะคะ จะได้ทั้งหมด 4 ไฟล์ ตามรูปค่า


3. ดับเบิ้ลคลิกที่ layoutfix.exe เพื่อเปิดการใช้งาน ถ้ามีรูปโปรแกรม แสดงอยู่ล่างขวามือของหน้าจอก็แสดงว่า สามารถใช้งานโปรแกรมได้เรียบร้อยแล้วค่ะ


บางคนอาจจะสงสัยว่า อ่าว? ทำไมเวลาเปิดเครื่องใหม่ โปรแกรมถึงไม่ทำงานอัตโนมัติ ต้องมานั่งกดเปิดโปรแกรมทุกครั้งที่เปิดเครื่องใหม่เลยหรือ? อย่างนี้มันก็ไม่สะดวกแล้วสิ!!

ไม่ต้องห่วงค่ะ เรามีทางแก้มาให้แล้ว วิธีการก็แค่เพียง copy โปรแกรม layoutfix.exe ไปใส่ไว้ในโฟลเดอร์ Startup เพื่อให้ windows ของเรา เรียกโปรแกรมนี้ขึ้นมาใช้งานอัตโนมัติทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

โดยการไปที่ start --> All programs --> คลิกขวาที่ Startup --> เลือก open


copy โปรแกรม layoutfix.exe ไปใส่ไว้ในโฟลเดอร์ Startup


เพียงเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ^^


ตัวอย่างการใช้งาน สามารถใช้งานได้กับทุกโปรแกรมเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็น Word, Excel, MSN




ขอบคุณเว็บไซต์ http://download.kapook.com/publish/article_484.shtml
ที่ช่วยแนะนำโปรแกรมดีๆจ้า


ขอสรุปอีกนิดนะคะ ว่าโปรแกรมดีๆแบบนี้ไม่ควรพลาดจริงๆจ้า ^^

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปฐมบท

บล็อกนี้เป็นบล็อกที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้เขียน ซึ่งกำลังศึกษาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์(biomedical engineering)เนื้อหาในบล็อกนี้จึงจะเป็นไปในทางความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวการแพทย์ ซึ่งกลุ่มผู้เขียนจะได้นำมาเผยแพร่ในโอกาสต่อไปครับ แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่า อันที่จริงไม่เคยเขียนบล็อกมาก่อนเลย การเริ่มต้นใหม่มันก็ยากไม่น้อยเลยนะครับเนี่ย "การจะทำอะไรซักอย่างเนี่ย มันยากที่สุดก็ตอนเริ่มนั่นแหละ" เอาเป็นว่า เกริ่นไว้เท่านี้ก่อนละกันครับ หากมีสิ่งผิดพลาดประการใดๆในบล็อกนี้ ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ผู้เขียนจะพยายามปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นไปนะครับ ^^