วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

my idol : คนบันดาลใจ


สวัสดีคับเพื่อนๆ วันนี้ผมจะมาแนะนำบุคคลที่ผมประทับใจมากคนนึง จะเรียกว่าชื่นชมก็ไม่ผิดนัก อาจจะมองดูไม่เกี่ยวกับ Biomedical Engineering ซักเท่าไหร่ แต่ก็ขอนอกเรื่องเล็กน้อยละกันนะคับ คนที่ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ก็คือ "สตีเฟน ฮอว์คิง"( Stephen hawking) เผื่อใครที่ยังไม่รุจักนะคับ เค้าเป็นนักฟิสิกส์ที่มีความสามารถมากคนนึง ผมได้มีโอกาสอ่านงานเขียนของเค้าในสมัยที่ผมเรียนมัธยมปลาย คือหนังสือที่ชื่อว่า A Brief History of Time : from the Big Bang to Black Holes กับอีกเล่มคือ The Universe In A Nutshell อ่านแล้วก็ต้องพยายามทำความเข้าใจมากเสียหน่อย(ก็ตอนนั้นเป็นแค่เด็กมัธยมนี่เนาะ ^^) เอาเป็นว่าขอเล่าถึงชีวประวัติคร่าวๆดังนี้คับ

สตีเฟน ฮอว์คิงเกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

ในต้นทศวรรษที่ 1960 (ประมาณ พ.ศ. 2503-2508) สตีเฟน ฮอว์คิงก็มีอาการที่เรียกว่า amyotrophic lateral sclerosis (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons) นั่นคือ เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของ กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป

ฮอว์คิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ขณะที่กำลังทำงานวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ฮอว์คิงได้อ่านรายงานของนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชื่อ โรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์ และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ อันเป็นสภาพที่นักฟิสิกส์เรียกว่าซิงกูลาริตี้(singularity) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือหลุมดำ ซึ่งไม่ว่าแสงหรือวัตถุใดๆ ก็หนีออกมาไม่ได้ จากนั้น ในปี พ.ศ. 2513 ฮอว์คิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ

ฮอว์คิงเสนอว่า หลุมดำไม่ควรจะเป็นหลุมดำเสียทีเดียว แต่ควรจะแผ่รังสีอะไรออกมาบ้าง โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน แต่มีความหนาแน่นสูง คือกินเนื้อที่ขนาดเท่าโปรตอน เขาเรียกวัตถุเหล่านี้ว่าหลุมดำจิ๋ว (mini black hole) ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป การค้นพบนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของฮอว์คิง

เมื่อ ปี พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520 และเมื่อในปีพ.ศ. 2522 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics - เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2206 บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ไอแซก นิวตัน คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์คิง กับนิวตันและไอนสไตน์)
บางคนระบุว่าเขาคือคนที่ฉลาดปราดเปรื่องที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน เขาได้สร้างคุณูปการไว้ในวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์มากมาย หนังสือชื่อ ประวัติย่อของ กาลเวลา (A Brief History of Time) ของเขา ถือเป็นเพชรน้ำเอกในวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ที่ช่วยบุกเบิกให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงหลักการทางฟิสิกส์และจักรวาลวิทยาที่ซับซ้อนได้รับการแปลถ่ายทอดออกไปกว่า 40 ภาษา และมียอดจำหน่ายมากกว่า 10 ล้านเล่มทั่วโลก

ด้านชีวิตส่วนตัว สตีเฟน ฮอว์คิงแต่งงานครั้งแรกกับเจน ฮอว์คิง ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่กับพยาบาล ชื่อ เอเลน เมสัน ปัจจุบัน สตีเฟน ฮอว์คิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร

เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ อัจฉริยะที่พิการจะเดินเหินไปไหนมาไหนก็ไม่ได้ จะพูดจาปราศรัยกับใคร ก็ไม่ได้ แม้แต่จะเขียนหนังสือ แต่งตัว หรือกินอาหารด้วยตัวเองก็ไม่ได้ เพราะ ฮอว์คิง ป่วยเป็นโรค amyothropic lateral sclerosis ซึ่งโรคนี้ ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางของเขาควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ได้เลย อวัยวะหนึ่งเดียวของเขาที่ทำงานคือ สมอง
เวลาเขาต้องการจะสนทนาติดต่อกับโลกภายนอก เขาจะใช้เครื่องพูดบนเก้าอี้พิเศษ โดยใช้นิ้วกดปุ่มของตัวอักษรต่างๆ ประกอบ เป็นคำที่เขาต้องการแล้วจึงกดเครื่องออกเสียง ดังนั้นเมื่อมีคนถามคำถามหนึ่งคำถามเขาจะใช้เวลานาน 10-15 นาที ในการที่จะตอบ สตีเฟน ฮอว์คิงนี่เองที่ผมคิดว่าน่าเอามาเป็นแบบอย่างของความไม่ย่อท้อคือ ถึงแม้ตัวเขาเองจะพิการ แต่ก็ไม่เคยที่จะหยุดทำประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ ชีวิตของนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะคนนี้ได้แสดงให้ทุกคนเห็นแล้วว่า วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิทยาการที่ต้องใช้สมอง ไม่จำเป็นต้องอยู่ในร่างกายที่ปกติเสมอไปครับ

ผลงานของสตีเฟน ฮอว์คิง

  • A Large Scale Structure of Space-Time (1973) , แต่งร่วมกับ G.F.R. Ellis)
  • Superspace and Supergravity (1981)
  • The Very Early Universe (1983)
  • A Brief History of Time : from the Big Bang to Black Holes (1988)
  • Black Holes and Baby Universe and Other Essays (1994)
  • The Universe In A Nutshell..

รางวัลที่เคยได้รับ

แหล่งข้อมูล

http://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Hawking

http://www.hawking.org.uk/

2 ความคิดเห็น: